ผลิตภัณฑ์และวิธีการของ Neeuro ล้วนอาศัยข้อมูลและวิทยาศาสตร์
เราภูมิใจที่ผลิตภัณฑ์และบริการทั้งหมดของเราได้รับการสนับสนุนจากข้อมูลและวิทยาศาสตร์ นี่คือเอกสาร White Papers และบทความในวารสารต่างๆ
ฝึกสมอง
การประเมินผลการดำเนินงานและประสิทธิผลของชุมชนในการฝึกการทำงานของสมองโดยใช้ Brain-Computer Interface ในผู้สูงอายุสุขภาพดีที่อาศัยอยู่ในชุมชน (การทดลองสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุม)
การฝึกการทำงานของสมองสามารถปรับปรุงการรับรู้ในผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีได้
วัตถุประสงค์คือเพื่อประเมินการดำเนินการฝึกการทำงานของสมองด้วยคอมพิวเตอร์ (CCT) ในชุมชน และประสิทธิผลต่อการทำงานของสมอง การเดิน และการทรงตัวในผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี
สามารถดูบทความเพิ่มเติมได้ ที่นี่
การบำบัดแบบดิจิทัล
โปรแกรมการฝึกสมาธิของ Brain-Computer Interface ที่บ้านสำหรับโรคสมาธิสั้น (Feasibility Trial)
โรคสมาธิสั้น (ADHD) เป็นโรคที่มีความผิดปกติในด้านพัฒนาการทางระบบประสาทของเด็กที่แพร่หลาย ซึ่งได้รับการรักษาในคลินิกและในโรงเรียน การทดลองก่อนหน้านี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมการฝึกสมาธิโดยใช้ส่วนต่อประสานสมองกับคอมพิวเตอร์ (Brain-Computer Interface) ของเราสามารถปรับปรุงอาการ ADHD ได้ ตั้งแต่นั้นมาเราได้พัฒนาโปรแกรมการฝึกเวอร์ชันแท็บเล็ตซึ่งสามารถจับคู่กับชุดคาดหัว EEG ไร้สายได้ ในการทดลองนี้ เราได้ตรวจสอบความเป็นไปได้ในการดำเนินการ BCI แบบแท็บเล็ตที่บ้าน
สามารถดูบทความเพิ่มเติมได้ ที่นี่
การฝึกการทำงานของสมองโดยใช้ส่วนต่อประสานสมองกับคอมพิวเตอร์ (Brain-Computer Interface) อย่างเกมส์ CogoLand สำหรับเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) (การทดลองสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุม)
การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (RCT) โดยมีเด็กอายุ 6 ถึง 12 ปี จำนวน 172 คน เป็นผู้ป่วยนอกที่เข้ารับการรักษาในคลินิกจิตเวชและได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค ADHD ซึ่งเด็กเหล่านั้นไม่เคยได้รับการรักษาด้วยยาหรือเคยได้รับความช่วยเหลือด้านพฤติกรรมใดๆ การฝึกประกอบด้วยการฝึกอบรมตาม BCI สัปดาห์ละ 3 ครั้งเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ตามด้วยการฝึกอบรม 3 ครั้งต่อเดือนในช่วง 12 สัปดาห์ต่อมา
กลุ่มที่ได้รับการฝึกแสดงให้เห็นการปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญในอาการ สมาธิสั้นของพวกเขา โดยพิจารณาจากคะแนนการมีสมาธิสั้น (Inattentive Score) ของ ADHD Rating Scale (ADHD RS) ที่แพทย์กำหนด
ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการฝึกนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการรักษาในกรณีที่อาการไม่รุนแรงหรือเป็นการรักษาเพิ่มเติม
สามารถดูบทความเพิ่มเติมได้ ที่นี่
การแทรกแซงโดยใช้ส่วนต่อประสานสมองกับคอมพิวเตอร์ (Brain-Computer Interface) ทำให้การเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Topology) การทำงานของสมองเป็นปกติในเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้น ADHD (Feasibility Trial)
การศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายภาพระบบประสาทนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมขนาดใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยเด็ก ADHD จำนวน 172 คน การศึกษานี้ประกอบด้วยเด็กชาย 66 คนที่เป็นโรค ADHD ที่มีอาการสมาธิสั้นและชนิดย่อยอื่นๆรวมกัน มีการแทรกแซงโดยใช้เกมที่ใช้ BCI เป็นเวลา 24 ครั้งในระยะเวลา 8 สัปดาห์ และแยกระหว่างกลุ่มที่แทรกแซงและกลุ่มที่ไม่แทรกแซง
โดยได้มีการสังเกตกิจกรรมเครือข่ายสมองที่แตกต่างกันในทั้งสองกลุ่ม เด็กในกลุ่มแทรกแซงแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมเครือข่ายสมองที่ถูกจัดระเบียบใหม่เพิ่มขึ้นความใกล้ชิดกับสมองส่วนหน้าซึ่งสัมพันธ์กับการมีสมาธิ (เช่น อาการสมาธิสั้นน้อยลง)
บริเวณสมองที่ถูกโฟกัสจะถูกกระตุ้นหลังจากที่ได้รับการแทรกแซงโดย BCI เมื่อเปรียบเทียบกับการกระตุ้นสมองในหลายๆตำแหน่งในเด็กจากกลุ่มที่ไม่มีการแทรกแซง
สามารถดูบทความเพิ่มเติมได้ ที่นี่
โปรแกรมการฝึกสมาธิโดยใช้ส่วนต่อประสานสมองกับคอมพิวเตอร์ (Brain-Computer Interface) ในการรักษาโรคสมาธิสั้น (ADHD)
ในการศึกษานี้ ระบบเกมฝึกสมองเพื่อเพิ่มสมาธิโดยใช้ BCI ในเด็ก ADHD ที่ไม่ได้รับยาจำนวน 20 ราย อายุระหว่าง 6 ถึง 12 ปีที่มีอาการสมาธิสั้นและมีอาการประเภทย่อยรวมกัน การรักษาประกอบด้วยการฝึก 24 ครั้งในระยะเวลา 8 สัปดาห์ ตามด้วยการฝึกเพิ่มเติม 3 ครั้งต่อเดือนในกลุ่มแทรกแซง
ระดับคะแนนของ ADHD ที่ผู้ปกครองให้คะแนนแสดงให้เห็นการปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญในอาการสมาธิสั้นและอาการขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง ซุกซนผิดปกติ และอยู่ไม่นิ่ง คะแนนสมองที่ดีขึ้นสะท้อนให้เห็นในเกมการฝึกมีความสัมพันธ์กับอาการ ADHD ที่ลดลงตามที่ผู้ปกครองรายงาน
สามารถดูบทความเพิ่มเติมได้ ที่นี่
ฝึกสมอง
การปรับปรุงสุขภาพการทำงานของสมองด้วย Gamification และ EEG
พบว่าสมองมีความสามารถในการควบคุมแง่มุมต่างๆ ของการคิดเชิงฟังก์ชัน ซึ่งรวมถึงการวางแผน การจัดระเบียบ การตัดสินใจอย่างมีเหตุผล การจดจำงาน และอื่นๆอีกมากมาย การแสดงความสามารถด้านการการทำงานของสมองของเราสามารถบ่งบอกว่าเราทำงานในแต่ละวันได้ดีเพียงใด และเราสามารถใช้ชีวิตอย่างด้วยตนเองได้หรือไม่
การบำบัดแบบดิจิทัล
การใช้ส่วนต่อประสานสมองกับคอมพิวเตอร์ (Brain-Computer Interface) ในเกม Cogo สำหรับเด็กที่มีสมาธิสั้น: แนวทางเสริมและแนวทางทั่วไปสำหรับการรักษาปัญหาสมาธิและความท้าทาย
การทดลองทางคลินิกได้พิสูจน์แล้วว่าการใช้ Neurofeedback กับเกมที่ใช้ส่วนต่อประสานสมองกับคอมพิวเตอร์ (BCI) มีประสิทธิภาพในการลดอาการของโรคสมาธิสั้น เป็นตัวเลือกการรักษาในปัจจุบันด้วยการไม่รุกราน สะดวกในรูปแบบดิจิทัล และใช้งานได้ทั้งที่คลินิกหรือที่บ้าน
สามารถฝึกฝนได้อย่างง่ายดายโดยหลีกเลี่ยงข้อเสียของการมีเวลามากเกินไปหรือมีภาระทางการเงินมากเกินไป